top of page

การรับมือเหตุฉุกเฉินเมื่ออยู่ในออสเตรเลีย

Writer's picture: TT&T ServicesTT&T Services

การไปท่องเที่ยวหรือเรียนต่อต่างประเทศเป็นความใฝ่ฝันของหลายๆคน และแน่นอนว่าเหตุไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวได้ทุกเมื่อ ดังนั้นการรู้วิธีการรับมือหรือข้อมูลการติดต่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรทราบเพื่อช่วยให้เราเตรียมตัวและตั้งสติได้ทันค่ะ

 

รู้จักกับความช่วยเหลือฉุกเฉินแต่ละประเภทในออสเตรเลีย


เบอร์โทรฉุกเฉิน

  • Triple Zero (000) คือ สายด่วนบริการฉุกเฉินของออสเตรเลีย สามารถโทรฟรีได้จากโทรศัพท์บ้าน มือถือ หรือโทรศัพท์สาธารณะ เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน

  • ใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ห้ามโทรเรียกรถพยาบาลสำหรับอาการง่ายๆ เช่น เป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ผื่น ผิวไหม้แดด หรืออาการที่ไม่ถึงขั้นชีวิตที่แพทย์ทั่วไป (GP) สามารถรักษาได้ การโทรฉุกเฉินโดยไม่จำเป็นจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินรายอื่นต้องรอคิวนานขึ้น

  • คนมักเข้าใจคว่าการไปโรงพยาบาลจะทำให้ได้รับการรักษารวดเร็วขึ้น แต่ความจริงแล้วนั้นแพทย์จะรักษากรณีที่เร่งด่วนหรือรุนแรงถึงขั้นชีวิตก่อน

 

แพทย์ทั่วไป (GP)

  • แพทย์ทั่วไป คือ แพทย์ที่สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้หลากหลาย ให้การวินิจฉัยโรค การรักษา สั่งยา หรือส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทางสำหรับอาการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่เร่งด่วนแต่มีความรุนแรงมากกว่า

สรุป

  • โทรสายด่วนฉุกเฉิน Triple Zero (000) เฉพาะกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่อย่างเร่งด่วน

  • สำหรับอาการไม่เร่งด่วน ควรปรึกษาแพทย์ทั่วไป (GP) ที่สถานพยาบาลหรือคลินิกใกล้ที่พัก

 

อาการใดบ้างที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่สามารถโทร 000 หรือไปโรงพยาบาลได้ทันที

  • เจ็บแน่นหน้าอกหรือหายใจติดขัด

  • แขน ขา หรือใบหน้า มีอาการอ่อนแรง ชา หรือเป็นอัมพฤกษ์

  • หายใจลำบาก

  • หมดสติ

  • เลือดออกไม่หยุด

  • หมดสติ ล้มลงกะทันหัน หรือล้มโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • อาการชักกระตุกโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

  • ตกจากที่สูง

  • ถูกทำร้ายร่างกายรุนแรง เช่น ถูกแทงหรือยิง

  • มีแผลไหม้รุนแรง โดยเฉพาะเด็กเล็ก

  • ทารกมีอาการชักหรือไข้สูงต่อเนื่อง


หมายเหตุ: นี่เป็นเพียงตัวอย่างของอาการฉุกเฉิน หากคุณไม่แน่ใจว่าอาการของคุณเข้าข่ายฉุกเฉินหรือไม่ โทรสายด่วนฉุกเฉิน Triple Zero (000) เพื่อขอความช่วยเหลือทันที


เหตุฉุกเฉินประเภทอื่นๆ


เหตุเพลิงไหม้ที่พักอาศัย

  • สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันไฟไหม้:

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัญญาณเตือนอัคคีภัยทำงานอยู่เสมอ

  • ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด

  • เก็บพื้นที่รอบเตาแก๊สหรือเตาอบให้โล่ง

  • หลีกเลี่ยงการแขวนผ้าเช็ดมือไว้ที่เตาอบ

  • เฝ้าดูตลอดเวลาขณะปรุงอาหาร


ในกรณีไฟไหม้บ้านรุนแรง

  • หนีออกไปจากพื้นที่อันตรายทันที

  • อยู่ข้างนอก - ห้ามกลับเข้าไปในพื้นที่ที่กำลังไฟไหม้เด็ดขาด

  • โทรแจ้ง 000 และติดต่อขอรถดับเพลิง

  • รายงานรายละเอียดเหตุการณ์ และที่อยู่/สถานที่เกิดเหตุอย่างใจเย็น

  • รอสายและปฏิบัติตามคำแนะนำ จนกว่ารถดับเพลิงจะมาถึง


อุบัติเหตุ

กรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ให้จำและปฏิบัติตาม คำย่อ ‘DRS ABCD’ (อ่านว่า ด็อกเตอร์ เอ บี ซี ดี)

  • อันตราย (Danger) - ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณปลอดภัยและไม่อยู่ในอันตรายใดๆ

  • ตอบสนอง (Respond) - ตรวจสอบผู้บาดเจ็บหรือหมดสติ พูดคุยและสัมผัส ถามชื่อผู้บาดเจ็บ หรือบีบแขนเบา ๆ ห้ามเคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บ เว้นแต่ต้องการการปฐมพยาบาลหรืออยู่ในอันตรายร้ายแรง ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งที่สุด

  • แจ้งขอความช่วยเหลือ (Send for help) - โทรแจ้ง 000 (Triple Zero) หรือ 112 ทันที และปฏิบัติตามคำแนะนำ

  • ทางเดินหายใจ (Airway) - เปิดปากผู้บาดเจ็บและตรวจสอบว่าทางเดินหายใจสะอาด ไม่มีสิ่งใดขวางกั้นค่อยๆ เชิดศีรษะขึ้นเพื่อให้อากาศไหลเวียนสะดวก

  • การหายใจ (Breathing) - ฟัง สัมผัส และมองหน้าอก ตรวจสอบการหายใจ หากผู้บาดเจ็บไม่หายใจ ให้เริ่มการปั๊มหัวใจช่วยฟื้นชีพ (CPR) ทันที

  • ปั๊มหัวใจช่วยฟื้นชีพ (CPR) - เริ่มทำ CPR (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ healthdirecthttps://www.healthdirect.gov.au/)

  • เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดใช้ภายนอก (Defibrillator) - ติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดใช้ภายนอกและปฏิบัติตามคำแนะนำ


หากคุณต้องติดต่อบริการฉุกเฉิน


เมื่อโทรหา Triple Zero (000):

  • ขอรถพยาบาล ตำรวจ หรือดับเพลิง

  • หากต้องการล่ามคนไทย ให้ขอ translator

  • พูดอย่างชัดเจนและใจเย็น ให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์

  • ระบุที่อยู่หรือสถานที่ของเหตุฉุกเฉินอย่างชัดเจน

  • อย่าวางสายและรอรับคำแนะนำ

 

บนโทรศัพท์มือถือ คุณยังสามารถติดต่อบริการฉุกเฉินได้โดยการกดหมายเลข 112

หากคุณหูหนวกหรือมีความบกพร่องทางการได้ยินหรือการพูด โทร 106 เพื่อทำการโทรฉุกเฉินแบบข้อความ

 

การเข้าถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตหลังเกิดเหตุฉุกเฉิน


การประสบหรือเห็นเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถสร้างความทรงจำที่กระทบกระเทือนจิตใจ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ของคุณ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะขอรับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต อาทิ

 

  • Student Support ที่สถานศึกษาของคุณ

  • บริการสุขภาพจิตในชุมชน หรือคลินิกใกล้ที่พัก

  • สายด่วนสุขภาพจิต:

    • Lifeline (13 11 14)

    • Beyond Blue (1300 22 4636)

    • Kids Helpline (1800 55 1800)

    • Headspace

    • ReachOut

    • MensLine (1300 789 978)

 

หากคุณมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย กรุณาติดต่อสายด่วนช่วยเหลือการฆ่าตัวตายทันที ซึ่งมีผู้ให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งรวมถึง:

  • Lifeline (13 11 14)

  • บริการโทรกลับการฆ่าตัวตาย (1300 659 467)

 

หากคุณอยู่ในภาวะฉุกเฉินหรือตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น โทรสายด่วนฉุกเฉินที่ Triple Zero (000)

 

การเยียวยาสุขภาพจิตหลังเกิดเหตุฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าการรักษาบาดแผลหลังเหตุการณ์นั้นๆ และที่ออสเตรเลียให้ความใส่ใจต่อสุขภาพจิตของประชาชน คุณจึงสามารถเข้าถึงช่องทางความช่วยเหลือได้อย่างหลากหลาย และหากภาษาไม่ค่อยแข็งแรงก็สามารถขอล่ามแปลภาษาได้ค่ะ


9 views0 comments

Comments


bottom of page